วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่องกล้วยๆ


ประวัติความเป็นของกล้วย
       

 ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียวฟิลิปปินส์  และไต้หวัน กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่


ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย


ในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์

วิธีการปลูกกล้วย
  

 แปลงสำหรับการปลูกกล้วยนั้น  ระยะห่างของการปลูกกล้วยในประเทศไทยนิยมปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นในระยะ  3×3  เมตร 5×5  เมตร  ไปจนถึง  10×10  เมตร ซึ่งแล้วแต่ว่าพันธุ์กล้วยที่นำมาปลูกนั้นมีขนาดเล็กใหญ่มากน้อยแค่ไหน ชาวสวนที่จังหวัดนนทบุรีนิยมปลูกกล้วยแบบแปลงยกร่อง  ซึ่งทำให้พื้นที่ในปลูกกล้วยลดน้อยลง  ดังนั้นการปลูกกล้วยบนแปลงยกร่องจึงมักจะปลูกแบบชิด  โดยให้มีระยะห่างระหว่างแถวขนาด  2×3  เมตร การปลูกกล้วยควรเลือกช่วงฤดูฝนจะเหมาะที่สุด  โดยเริ่มปลูกเมื่อแรกฤดูฝนมาเยือน หลังจากนั้นประมาณ  1  เดือนฝนจะตกชุกมากขึ้น  กล้วยก็จะผลิยอดอ่อนและเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว การปลูกกล้วยอีกอย่างหนึ่ง  คือ  ช่วงที่กล้วยออกผลแล้ว  ซึ่งโดยธรรมชาติเมื่อกล้วยออกหน่อจะเริ่มแทงขึ้นมาใหม่  เมื่อเก็บผลแล้วชาวสวนจะเลือกหน่อที่แข็งแรงสมบูรณ์  โดยเลือกหน่อใบดาบ(หน่อใบแคบ)  ที่สูงประมาณ 40-50  เซนติเมตรไปขยายพันธุ์ปลูกต่อไป
          วิธีการปลูกกล้วย
ชาวสวนมีวิธีการปลูกกล้วยอยู่  2  ลักษณะด้วยกัน  คือ
1.ปลูกแบบแห้ง
2.ปลูกแบบน้ำ
           การปลูกกล้วยแบบแห้ง
การปลูกกล้วยแบบแห้งจะเริ่มที่ชาวสวนลงมือกำจัดวัชพืชที่มีอยู่บนแปลงยกร่องจนหมด  จากนั้นขุดพลิกฟื้นดินใหม่ทั้งสวน  ปล่อยดินตากแดดไว้ประมาณ  1  สัปดาห์  จากนั้นจึงลงมือ
ขุดหลุมปลูกกล้วย การขุดหลุมปลูกกล้วยนิยมขุดหลุมให้มีขนาดประมาณ  20×20  เซนติเมตร  ลึกประมาณ  50  เซนติเมตร  ใช้ดินผสมกับปุ๋ยคอกรองก้นหลุมให้สูงประมาณ  20  เซนติเมตร  จากนั้นนำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกหมดแล้วลงไปในหลุม  กลบดินพอหลวมๆ  ก่อนแล้วค่อยๆ  เหยียบดินรอบโคนต้นให้แน่น  จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
         การปลูกกล้วยแบบน้ำ
การปลูกกล้วยแบบน้ำเป็นวิธีการปลูกกล้วยหอมทอง  ซึ่งจะไม่ขออธิบายในที่นี้  ถ้าท่านสนใจกรุณาอ่านได้จากหนังสือการทำกล้วยหอม  ซึ่งจะแนะนำวิธีการปลูกกล้วยแบบน้ำโดยละเอียด
ขั้นตอนการปลูกกล้วยน้ำว้ามีเพียงเท่านี้

ประเพณีลอยกระทง(สุโขทัย)



ใกล้ถึงเทศกาลวันลอยกระทง 2554 กันแล้ว ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน …เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมตัวควงหวานใจ หรือพาครอบครัวไปลอยกระทงร่วมกันที่ใดที่หนึ่งแล้ว อ๊ะ ๆ ...แต่ก่อนที่จะไปลอยกระทงกันนั้น เรามาทำความรู้จักประเพณีลอยกระทงให้ถ่องแท้กันก่อนดีกว่าค่ะ จะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของประเพณีอย่างแท้จริง
กำหนดวันลอยกระทง


          วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน 
        ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม
ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."


          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน"
พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง


สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

          1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

          2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

          3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

          4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 

          5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

          7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค

          ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ
             ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่  (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
            จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย" 
        
         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง                กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี
กิจกรรมในวันลอยกระทง
          ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา

          นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย




ประเพณีงานสาทไทยกล้วยไข่กำแพง



     

             

           ประวัติความเป็นมา  จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่นิยมปลูก กล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็น  พืชผลเศรษฐกิจทำรายได้เข้าจังหวัดปี หนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ “กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไป มองเป็นผลไม้พื้นๆ กลายเป็นของมีราคาขึ้น มาทันที และทำให้กำ แพงเพชรเป็นเมืองที่มีฉายาว่า “เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประ เทศ แรกเริ่มทีเดียวนั้นเล่ากันว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกสวน กล้วยไข่กันก่อนที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มา ปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุด ไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำ นวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างเพียงพอต่อผลผลิตทั้งตลาดในประ
เทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจในกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
                                                                                                                                                                           
วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่หน่วยราชการ และผู้ประกอบการ ทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรม ของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่ โดยยึดแนวคตินิยมทางพื้นฐานพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธนิยมทำบุญเดือน 10 หรือ “สารทไทย”     สำหรับชาวกำแพงเพชรที่ฟื้นฟูประเพณีโบราณ ให้สอดคล้องกับการส่งเสริม การขายกล้วยไข่ของตนในฤดูกาลนี้ ก็เพราะกล้วยไข่มีผลผลิตออกชุกในช่วง เดือนกันยายนนี้พอดี ประกอบกับผลไม้อื่นๆ ในช่วงนี้ไม่มีออกด้วยเมื่อมีงานบุญ ใดๆ ก็ตามจึงต้องมีผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของหวาน และของหวาน และของหวานที่ นิยมทำกันในงานสารทไทยนี้ก็คือ “กระยาสารท” รสชาติค่อนข้างหวานจัดจึง ต้องรับประทานกับกล้วยไข่เป็น “เครื่องเคียง” ที่สำคัญมาก“งานสารทไทยกล้วย ไข่เมืองกำแพง” จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายๆ เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2524 จากพื้นฐานของ งานประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยในอดีต สอดคล้องกับการมีผลผลิตมากมายในท้องถิ่น จึงเป็นจุดเด่นของ งานประเพณีนี้


สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำหว้า

แปลกใจบ้างไหมว่า ทำไมผู้ใหญ่ถึงชอบให้เด็ก ทานกล้วยน้ำว้าบด ก็เพราะว่าใน กล้วยน้ำว้า
 มี โปรตีน และมี กรดอะมิโน อาร์จินิน และ ฮีสติดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก แถมยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย นั้นเป็นคุณค่าทางโภชนาการ คราวนี้เรามาดูกันว่า สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้า มีอะไรกันบ้าง

  1. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้ง ทานวันละ 5-6 ผล จะช่วยให้อาการระคายเคืองลดน้อยลงได้
  2. ช่วยเรื่องกลิ่นปาก ทำให้ลดกลิ่นปากได้ดี วิธีรับประทานคือทานกล้วยน้ำว้าหลังตื่นนอนทันที แล้วค่อยแปรงฟัน จะช่วยลดกลิ่นปากได้
  3. ช่วยเป็นยาระบายแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติ วิธีรับประทานคือ ทานกล้วยน้ำว้าสุก 1-2 ผล ก่อนนอน และดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยให้ถ่ายท้องได้ดีในวันรุ่งขึ้น
  4. ช่วยแก้ท้องเดิน หรือ ท้องเสียได้ ในกล้วยน้ำว้าจะมีสารเทนนิน ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้ โดยการน้ำ กล้วยน้ำว้าดิบ หรือ กล้วยน้ำว้าห่าม มาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2- 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชม. ใน 4-5 ชม.แรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชม. หรือ วันละ 3-4 ครั้ง (ถ้ายุ่งยาก ก็หายามาทานก็ได้ค่ะ)
  5. ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ นำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แตกแดด 2 วัน ให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว หรือน้ำผึ้ง ทานก่อนอาหาร ครึ่งชม. หรือก่อนนอนทุกวัน
  6. เปลือกกล้วยน้ำว้า ช่วยบรรเทาอาการคันอันเนื่องมาจากแมลงกัดต่อย และผื่นแดงจากอาการคันได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการ ต้านเชื้อรา และ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง







ประโยชน์ทางสมุนไพรของกล้วย






     

 



ประโยชน์ทางสมุนไพร :   ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ 1ผลมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทดลองให้หนูขาวกินยาแอสไพรินแล้วกินผงกล้วยดิบ พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะได้เมื่อกินผงกล้วยดิบในปริมาณ 5 กรัม และสามารถรักษาแผลในกระเพาะที่เป็นแล้วได้เมื่อกินในปริมาณ 7 กรัม นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย สำหรับสารสกัดจะมีฤทธิ์เป็น 300 เท่าของผงกล้วยดิบ โดยออกฤทธิ์ สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก
โดยการเพิ่มเมือกและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้างเซลล์ที่ส่งผลไปถึงการรักษาแผลด้วย สำหรับผู้ที่มักจะมีอาการแน่นจุกเสียด ยังสามารถใช้ผลกล้วยดิบฝานบางๆ แล้วตากแห้ง บรรเทาอาการ ปวดท้องจุกเสียดได้อีกด้วยนอกจากนี้ ผู้ที่มักจะเป็นตะคริวที่เท้า ข้อเท้า
และน่องบ่อยๆ การรับประทานกล้วยเป็นประจำจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้เมื่อพูดถึงกล้วย ไม่ใช่เพียงแต่ผลกล้วยเท่านั้นที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ แทบจะทุกส่วนของกล้วย มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น
ผลกล้วยสุก บรรเทาอาการท้องผูก ความดันโลหิตสูง เจ็บคอ บำรุงผิวต้นและใบแห้ง นำมาเผา รับประทานครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอกหัวปลี ช่วยบำรุงน้ำนมยาง จากปลีกล้วยหรือก้านกล้วย ใช้รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ ดอกกล้วย ช่วยเรื่องประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน โรคเบาหวานและโรคหัวใจเปลือกกล้วย แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม คัน หรือเป็นผื่น และฝ่ามือฝ่าเท้าแตกสำหรับสรรพคุณของกล้วยในการช่วยป้องกันโรคต่างๆ ก็มีมากมาย ได้แก่โรคความดันโลหิตสูงลูกล้วยมีธาตุโปแตสเซียมสูง แต่มีปริมาณเกลือต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต องค์กาอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) ยินยอมให้โฆษณาได้ว่ากล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายที่เกิดจากความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตกเส้นเลือดฝอยแตกจากการวิจัยที่ลงในวารสาร The New England Journal of Medicine ระบุว่าการรับประทานกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับ
เส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%
โรคท้องผูกปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องรับประทานยาถ่ายโรคลำไส้เป็นแผลกล้วยเป็นอาหารที่ใช้ควบคุมการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะเนื้อกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด
ทำให้ลดการระคายเคืองและยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย