วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

อาหารสมุนไพร

ไก่ต้มขมิ้น



เครื่องปรุง

        

1.ไก่บ้าน 1 ตัว (100กรัม  )                           

2.ตะไคร้ 2 ต้น (30 กรัม)

3.ขมิ้น 2 นิ้ว (10 กรัม)

4.กระเทียม 3 หัว (30 กรัม)

5.หอมแดง 5 หัว (45 กรัม)

6.ข่า 7 แว่น (50 กรัม)

7.เกลือป่น 2 ช้อนชา (5 กรัม)

8.ส้มแขก 5 ชิ้น (5 กรัม)


วิธีทำ

       

1. ล้างไก่ให้สะอาด แล้วสับชิ้นพอคำ

2. ทุบตะไคร้ให้แตก หั่นเป็นท่อน 2-3 นิ้ว ทุบข่า ขมิ้น แล้วบุบหอมแดง กระเทียม

3. เอาน้ำ 4 ถ้วยใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือด ใส่เครื่องที่เตรียมไว้ (ข้อ 2) ต้มสักพักจนเครื่องหอม ใส่ส้มแขก

4. ใส่ไก่ต้มจนสุก ใส่เกลือ น้ำตาล ปรุงรสตามชอบ ยกลง


มีสมุนไพรที่ใช้ทำคือ

1. ตะไคร้

2. กระเทียม

3. หอมแดง

4. ข่า

5. ขมิ้นชัน

6. ส้มแขก

7. มะขาม


สรรพคุณทางยา

1. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร

2. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมัน

3. กระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัสลดน้ำตาลในเลือดลดไขมันในหลอด เลือด

4. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด

5. ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ขับลมในลำไส้ ขับพิษโลหิตในมดลูก

6. ขมิ้นชัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม เจริญอาหาร รักษาโรคผิวหนัง

7. ส้มแขก รสเปรี้ยว ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ไอขับเสมหะ

8. มะขาม รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย


คุณประโยชน์ทางอาหาร

ไก่ต้มขมิ้น เป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ เป็นหวัดเรื้อรัง รับประทานเผ็ด ๆ แก้ไอ

ขับเสมหะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย


คุณค่าทางโภชนาการ



ไก่ต้มขมิ้น 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1,424.18 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

1. น้ำ 866.08 กรัม

2. ไขมัน 45.06 กรัม

3. คาร์โบไฮเดรต 40.03 กรัม

4. โปรตีน 214.88 กรัม

5. กาก 4.44 กรัม

6. แคลเซียม 68.85 มิลลิกรัม

7. ฟอสฟอรัส 273.95 มิลลิกรัม

8. เหล็ก 5.87 มิลลิกรัม

9. เรตินอล 25 ไมโครกรัม

10. เบต้า-เเคโรทีน 150 ไมโครกรัม

11. วิตามินเอ 282.35 IU

12. วิตามินบีหนึ่ง 1.32 มิลลิกรัม

13. วิตามินบีสอง 2.94 มิลลิกรัม

14. ไนอาซิน 31.12 มิลลิกรัม

15. วิตามินซี 56.15 มิลลิกรัม

น้ำยาเอนกประสงค์


น้ำยาเอนกประสงค์




เตรียมนํ้าด่าง หรือนํ้าเปล่า 5 ลิตร เกลือ 1 กิโล N 70 1 กิโล




นำเกลือ 1 กิโล ใส่ลงไปในนํ้า  5 ลิตร




คนให้เกลือละลาย และทิ้งไว้ให้ตกตะกอน




แล้วนำ N70 เทใส่ลงไปในถัง




แล้วคนไปทางเดียวกันให้ N 70กลายเป็นสีขาว




หลังจากนั้นให้เอานํ้าด่างที่ผสมเกลือ ตักมาใส่ก่อน 1 แก้ว




แล้วคนให้เข้ากัน




พอคนเข้ากันแล้วก็ทยอยใส่นํ้าด่างจนกว่านํ้าด่าง 5 ลิตรหมดและแล้วก็จะได้นํ้ายาเอนกประสงค์ ที่เก็บได้นาน ถึง 1 ปี โดยที่ไม่ต้องใส่สารกันบูด



น้ำยาล้างจาน


 


นำมะกรูดมาผ่าครึ่ง




แล้วนำไปต้มให้เดือดแล้วพักให้เย็น  แล้วก็บีบแล้วนำไปกรอง




หลังจากนั้นก็ทำนํ้ายาล้างจานด้วยอัตราส่วน  1:1
นํ้ายาเอนกประสงค์ 1 ส่วน
นํ้ามะกรูด           1 ส่วน
แล้วคนให้เข้ากัน พร้อมใช้ได้เลยค่ะ
 


ส่วนอันนี้เป็นนํ้ายาซักผ้า




นําเปลือกสับปะรดไปต้มให้เดือดแล้วพักให้เย็นแล้วนำไปกรอง




หลังจากนั้นก็ทำนํ้ายาซักผ้าด้วยอัดตราส่วน 1:1
นํ้ายาเอนกประสงค์  1  ส่วน
นํ้าสับปะรด          1  ส่วน
แล้วคนให้เข้ากันพร้อมใช้ได้เลยค่ะ






น้ำยาซักผ้า



นําเปลือกสับปะรดไปต้มให้เดือดแล้วพักให้เย็นแล้วนำไปกรอง




หลังจากนั้นก็ทำนํ้ายาซักผ้าด้วยอัดตราส่วน 1:1
นํ้ายาเอนกประสงค์  1  ส่วน
นํ้าสับปะรด          1  ส่วน
แล้วคนให้เข้ากันพร้อมใช้ได้เลยค่ะ
 


วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ต้นไผ่สร้างอาชีพ

ต้นไผ่สร้างชาติ


ต้นไผ่



การปลูกต้นไผ่

การปลูกไผ่เลี้ยง


พันธุ์ไผ่เลี้ยง
        1.พันธ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ปกติในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – สิงหาคม) แต่ถ้าจะผลิต
 
    เป็น   หน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มกับทุน 2.พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่สามารถให้หน่อไผ่
 
ใช่วงฤดูฝน และสามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ย
 
   แล้วจะ  ให้หน่อทันที ถ้าเกษตรกรปลูกมีการบำรุงรักษาดี ผลผลิตก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอแนะ
 
นำให้ผู้ที่จะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อ ควรปลูกพันธุ์เบา
 




การคัดเลือกพื้นที่ปลูกสวนไผ่

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่เลี้ยง ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว
 
 ดินโคกลูกรัง การเจริญเติบโต และการให้หน่อจะไม่ดี


การเตรียมดินปลูก

-ไถครั้งแตกด้วยรถไถผาน 3 ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืช

-ไถครั้งที่ 2 ด้วยรถไถผาน 7 เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย เหมาะแก่การปลูกพืช
 
 




ระยะปลูก


สามารถปลูกได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้เครื่องมือในการจัดการแปลงหลังปลูก

1.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 2 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น

2.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น

3.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 6 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 66 ต้น

ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรทั่วไป ควรปลูกระยะ 4 x 4 ม.


การปลูก

1.ปลูกด้วยตอชำถุง (มีค. – กค.) ขุดหลุ่มขนาด 50 50 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
 
ประมาณ 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้าเข้ากับดินลงในหลุมปลูก ฉีกถุงดำออกอย่าให้ดินแตก นำลงหลุม
 
กลบดินให้แน่น แล้วรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ถ้าฝนไม่ตก)

2.ปลูกด้วยเหง้า หรือตอไผ่ที่ไม่ได้ชำถุง โดยขุดเหง้าหรือตอไผ่ แล้วนำไปปลูกทันทีด้วยการ
 
ขุดหลุมเฉพาะ ไม่ต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปลูกแล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มสัปดาห์ละ
 
 2 ครั้ง ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกโดยวิธีนี้ คือ เดือน มค. – เมย. เหมาะสำหรับผู้ที่มีแหล่งน้ำ
 
และสะดวกในการให้น้ำ


การดูแลรักษา

-ถ้าไม่มีฝนตกควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

-กำจัดวัชพืชทำความสะอาดแปลงอย่าปล่อยให้หญ้าคลุม

-เมื่อไผ่ปลูกได้ 7 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออกให้เหลือไว้แต่ต้นที่มีขนาดเส้นผ่า
 
ศูนย์กลาง 3 – 5 ซม. แล้วพรวนดินรอบกอ ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 – 10 กก.
 
คลุมโคนด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง หรือฟางข้าว เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดิน ถ้ามีน้ำในไร่นา
 
ควรให้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

-เมื่อไผ่มีอายุได้ 8 เดือน ขึ้นไป ก็จะสามารถให้หน่อและเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้
 
ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป


เทคนิคการตัดแต่งกอและกิ่งไผ่
-หลักสำคัญในการตัดแต่งกิ่งไผ่ อยู่ที่ปีที่ 2 ซึ่งจะต้องตัดต้นที่แก่และยู่ชิดกันออก โดยใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่งเฉพาะ จะสะดวกให้เหลือจำนวนต้นไว้ในแต่ละกอ ไม่เกิน 12 ตัน ต่อไป (การตัดแต่งควรตัดทุกปีอย่างต่อเนื่อง ปีละ 1 ครั้ง)
-ฤดูกาลที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือเดือน ธค. – มค.
-หลังตัดแต่งเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15 – 20 กก. แล้วให้น้ำทันที เพื่อเร่งให้ได้ผลผลิตหน่อไผ่ช่วงต้นฤดู ซึ่งขายได้ราคาสูง
-ถ้าจะเร่งการออกหน่อ และเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น ให้เสริมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 กอละประมาณ 2 กำมือ โดยใส่รอบๆ กอ แล้วจึงกลบด้วยปุ๋ยคอกแล้วให้น้ำทันที ถ้าไม่มีน้ำให้ก็ต้องรอเก็บผลผลิตในฤดูฝนตามปกติ แต่ผลผลิตก็จะได้มากกว่า สวนที่ไม่มีการตัดแต่งใส่ปุ๋ยอย่างแน่นอน



การเก็บผลผลิตหน่อไผ่
-ขนาดความยาวของหน่อไผ่ที่เหมาะสม 40 – 50 ซม. หรือ ถ้าเห็นหน่อไผ่พ้นดินขึ้นมาให้รออีก 4-6 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้
-ช่วงเดือนสิงหาคม ควรคัดเลือกหน่อที่มีลักษณะสมบูรณ์และแตกหน่อออกอยู่ห้างกอไว้เป็นลำต้นต่อไป
-ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,700 กก.
-รายได้เฉลี่ย 17,000 บาท/ไร่


การขยายพันธุ์ไผ่
การขยายพันธุ์ไผ่เลี้ยง ทำได้ 2 ลักษณะ

1.ขยายพันธุ์โดยการขุดเอาเหง้าของลำต้นไผ่ที่มีอายุ 1 ปี แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีครึ่ง เมื่อขุดออกมาแล้วควรตัดให้เหลือตอไว้ประมาณ 40 ซม. และตัดแต่งรากออกพอประมาณ เพื่อสะดวกในการปักชำ ถุงที่เหมาะสมควรเป็นถุงดำขนาด 5 x 11 นิ้ว ขึ้นไป ส่วนผสมของดินบรรจุถุง คือ หน้าดิน 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้า แล้วใส่ลงในถุงนำเหง้าไผ่ที่เรียมไว้ลงถุงกลบดินแกลบให้แน่น ตั้งถุงเรียงไว้กลางแจ้ง รดน้ำให้พอชุ่มอยู่ตลอดประมาณ 15 วัน ก็จะเริ่มแตกแขนง
ครบ 2 เดือน นำไปปลูกได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ตามแบบที่ 1 คือ เดือน กพ. – พค.

2.ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า จากส่วนที่เป็นเหง้าของหน่อที่ถูกตัดไปขาย แล้วเหลือตอติดดินไว้แตกแขนงขึ้นมารอให้แขนงที่แตกมาใหม่ มีใบแก่ (แตกใบขิง) จึงขุดเหง้าพร้อมแขนงนี้มาชำถุง แต่ต้องตัดกิ่งแขนงส่วนบนออกให้เหลือติดเหง้าขึ้นไปยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ใช้วัสดุชำเหมือนกับการขยายพันธุ์แบบที่ 1 ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชำแบบที่ 2 คือ ตั้งแต่เดือน พย. – พค.



โรคและแมลงศัตรูไผ่
-โรค ยังไม่มีปรากฏที่ชัดเจน
-แมลงศัตรู
1.ด้วงเจาะหน่อไผ่ โดยทั่วไปยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ
2.หนู กัดกินและทำลายหน่อไม้ เกษตรกรผู้ปลูกสามารถดูแลและควบคุมได้ และยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ

ไผ่ออกดอกแล้วแห้งตาย (ไผ่เป็นขี)
-สาเหตุ เกิดจากเหล่ากอต้นพันธุ์มีอายุมาก ซึ่งการนำมาขยายพันธุ์ไม่ทราบว่ากี่ชั่วอายุแล้ว
-การแก้ไข ถ้าหากต้นที่ปลูกไปแล้วออกดอกให้ขุดทิ้งแล้วปลูกทดแทน



เรื่องของมะละกออิอิ*-*

มะละกอสร้างชาติ



มะละกอ


การปลูกมะละกอ

เรื่องที่ 1 การเตรียมพื้นที่
มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิน



เรื่องที่ 2 การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 3ด3 เมตร
สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป




เรื่องที่ 3 วิธีการปลูก
มะละกอสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมกันคือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากราก และไม่ให้รากขาด เมื่อวางต้นกล้าลงหลุมปลูกแล้ว ให้กลบดินรอบโคนต้น กดให้แน่นให้ระดับดินในหลุมปลูกเสมอกับระดับดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้า อย่ากลบโคนต้นสูงกว่ารอยดินเดิม จะทำให้เป็นโรคโคนเน่า เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอย่างอื่นคลุมบังแดดประมาณ 7-10 วัน รดน้ำทุกเช้า อย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำในระยะนี้ต้นจะแคระแกร็น โตช้า และให้ผลช้าด้วย

สรรพคุณของมะละกอ


ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย : ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้


อาหารจากมะละกอ

1.ผัดไทยมะละกอ

วิธีทำ
  1. ทอดเต้าหู้พอเหลือง พักไว้
  2. ผัดกุ้งในน้ำมันพอสุก พักไว้
  3. ผัดหัวไชโป๊กับน้ำมัน ใส่น้ำมะขาม พริกป่น น้ำตาลปี๊บเคี่ยว น้ำปลา เคี่ยวพอเข้ากัน
  4. ใส่มะละกอและแครอทลงผัด ผัดจนมะละกอนิ่ม ใส่กุ้ง ชิมรส
  5. ใส่ถั่วงอก กุยช่ายลงผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ดับไฟ ตักใส่จาน โรยถั่วลิสงบุบหยาบ ตักขึ้น กินกับเครื่องเคียงมีใบบัวบก กุยช่าย หัวปลี มะนาว ถั่วงอก


2.ผัดมะละกอใส่ไข่วิธีทำ

1.สับมะละกอเป็นเส้น ทุบกระเทียมแล้วสับให้ละเอียด
2.เจียวกระเทียมสับพอเหลือง ใส่มะละกอสับ ใส่น้ำเปล่า และกุ้งแห้ง พอมะละกอนิ่ม ก็ปรุงรสด้วย น้ำตาล และน้ำปลา
3.ต่อยไข่ลงไปคนให้ไข่กระจายให้ทั่ว พอสุกจึงใส่จานโรยด้วยพริกเขียวแดงซอย พร้อมเสิร์ฟ






3.แกงส้มมะละกอ

วิธีทำ

1.เริ่มทำเอาเปลือกมะละกอมาหั่นเปลือกสีเขียวแข็งๆออกไป
2.หลังจากนั้นก็หั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำตามชอบ
3.ตวงน้ำใส่หม้อ ยกตั้งไฟกลางพอเดือดใส่พริกแกงลงไป

4.ปลาทูน่ากระป๋อง เปิดออกรินน้ำออกให้หมด ตักแต่เนื้อปลาใส่ลงไปในหม้อแกงที่น้ำเดือด
5.หลังใส่ปลาพอน้ำเดือดอีกทีก็เทแตงโมที่หั่นเตรียมไว้ลงไป ต้มจนเนื้อแตงโมสุกนิ่มหน่อย
6.ใส่เครื่องปรุง น้ำปลา น้ำตาล และน้ำมะขามเปียกลงไป ชิมรสตามชอบ ขาดเหลือก็เติมได้ แล้วปิดไฟได้
7.แกงเสร็จแล้วทานได้ ถ้าชอบเปรี้ยวมากก็บีบน้ำมะนาวใส่ตอนจะทานอีกที นี่หลังจากแกงเสร็จแล้ว

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่องกล้วยๆ


ประวัติความเป็นของกล้วย
       

 ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียวฟิลิปปินส์  และไต้หวัน กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่


ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย


ในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์

วิธีการปลูกกล้วย
  

 แปลงสำหรับการปลูกกล้วยนั้น  ระยะห่างของการปลูกกล้วยในประเทศไทยนิยมปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นในระยะ  3×3  เมตร 5×5  เมตร  ไปจนถึง  10×10  เมตร ซึ่งแล้วแต่ว่าพันธุ์กล้วยที่นำมาปลูกนั้นมีขนาดเล็กใหญ่มากน้อยแค่ไหน ชาวสวนที่จังหวัดนนทบุรีนิยมปลูกกล้วยแบบแปลงยกร่อง  ซึ่งทำให้พื้นที่ในปลูกกล้วยลดน้อยลง  ดังนั้นการปลูกกล้วยบนแปลงยกร่องจึงมักจะปลูกแบบชิด  โดยให้มีระยะห่างระหว่างแถวขนาด  2×3  เมตร การปลูกกล้วยควรเลือกช่วงฤดูฝนจะเหมาะที่สุด  โดยเริ่มปลูกเมื่อแรกฤดูฝนมาเยือน หลังจากนั้นประมาณ  1  เดือนฝนจะตกชุกมากขึ้น  กล้วยก็จะผลิยอดอ่อนและเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว การปลูกกล้วยอีกอย่างหนึ่ง  คือ  ช่วงที่กล้วยออกผลแล้ว  ซึ่งโดยธรรมชาติเมื่อกล้วยออกหน่อจะเริ่มแทงขึ้นมาใหม่  เมื่อเก็บผลแล้วชาวสวนจะเลือกหน่อที่แข็งแรงสมบูรณ์  โดยเลือกหน่อใบดาบ(หน่อใบแคบ)  ที่สูงประมาณ 40-50  เซนติเมตรไปขยายพันธุ์ปลูกต่อไป
          วิธีการปลูกกล้วย
ชาวสวนมีวิธีการปลูกกล้วยอยู่  2  ลักษณะด้วยกัน  คือ
1.ปลูกแบบแห้ง
2.ปลูกแบบน้ำ
           การปลูกกล้วยแบบแห้ง
การปลูกกล้วยแบบแห้งจะเริ่มที่ชาวสวนลงมือกำจัดวัชพืชที่มีอยู่บนแปลงยกร่องจนหมด  จากนั้นขุดพลิกฟื้นดินใหม่ทั้งสวน  ปล่อยดินตากแดดไว้ประมาณ  1  สัปดาห์  จากนั้นจึงลงมือ
ขุดหลุมปลูกกล้วย การขุดหลุมปลูกกล้วยนิยมขุดหลุมให้มีขนาดประมาณ  20×20  เซนติเมตร  ลึกประมาณ  50  เซนติเมตร  ใช้ดินผสมกับปุ๋ยคอกรองก้นหลุมให้สูงประมาณ  20  เซนติเมตร  จากนั้นนำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกหมดแล้วลงไปในหลุม  กลบดินพอหลวมๆ  ก่อนแล้วค่อยๆ  เหยียบดินรอบโคนต้นให้แน่น  จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
         การปลูกกล้วยแบบน้ำ
การปลูกกล้วยแบบน้ำเป็นวิธีการปลูกกล้วยหอมทอง  ซึ่งจะไม่ขออธิบายในที่นี้  ถ้าท่านสนใจกรุณาอ่านได้จากหนังสือการทำกล้วยหอม  ซึ่งจะแนะนำวิธีการปลูกกล้วยแบบน้ำโดยละเอียด
ขั้นตอนการปลูกกล้วยน้ำว้ามีเพียงเท่านี้

ประเพณีลอยกระทง(สุโขทัย)



ใกล้ถึงเทศกาลวันลอยกระทง 2554 กันแล้ว ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน …เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมตัวควงหวานใจ หรือพาครอบครัวไปลอยกระทงร่วมกันที่ใดที่หนึ่งแล้ว อ๊ะ ๆ ...แต่ก่อนที่จะไปลอยกระทงกันนั้น เรามาทำความรู้จักประเพณีลอยกระทงให้ถ่องแท้กันก่อนดีกว่าค่ะ จะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของประเพณีอย่างแท้จริง
กำหนดวันลอยกระทง


          วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน 
        ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม
ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."


          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน"
พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง


สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

          1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

          2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

          3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

          4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 

          5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

          7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค

          ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ
             ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่  (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
            จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย" 
        
         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง                กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี
กิจกรรมในวันลอยกระทง
          ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา

          นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย




ประเพณีงานสาทไทยกล้วยไข่กำแพง



     

             

           ประวัติความเป็นมา  จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่นิยมปลูก กล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็น  พืชผลเศรษฐกิจทำรายได้เข้าจังหวัดปี หนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ “กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไป มองเป็นผลไม้พื้นๆ กลายเป็นของมีราคาขึ้น มาทันที และทำให้กำ แพงเพชรเป็นเมืองที่มีฉายาว่า “เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประ เทศ แรกเริ่มทีเดียวนั้นเล่ากันว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกสวน กล้วยไข่กันก่อนที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มา ปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุด ไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำ นวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างเพียงพอต่อผลผลิตทั้งตลาดในประ
เทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจในกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
                                                                                                                                                                           
วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่หน่วยราชการ และผู้ประกอบการ ทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรม ของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่ โดยยึดแนวคตินิยมทางพื้นฐานพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธนิยมทำบุญเดือน 10 หรือ “สารทไทย”     สำหรับชาวกำแพงเพชรที่ฟื้นฟูประเพณีโบราณ ให้สอดคล้องกับการส่งเสริม การขายกล้วยไข่ของตนในฤดูกาลนี้ ก็เพราะกล้วยไข่มีผลผลิตออกชุกในช่วง เดือนกันยายนนี้พอดี ประกอบกับผลไม้อื่นๆ ในช่วงนี้ไม่มีออกด้วยเมื่อมีงานบุญ ใดๆ ก็ตามจึงต้องมีผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของหวาน และของหวาน และของหวานที่ นิยมทำกันในงานสารทไทยนี้ก็คือ “กระยาสารท” รสชาติค่อนข้างหวานจัดจึง ต้องรับประทานกับกล้วยไข่เป็น “เครื่องเคียง” ที่สำคัญมาก“งานสารทไทยกล้วย ไข่เมืองกำแพง” จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายๆ เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2524 จากพื้นฐานของ งานประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยในอดีต สอดคล้องกับการมีผลผลิตมากมายในท้องถิ่น จึงเป็นจุดเด่นของ งานประเพณีนี้


สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำหว้า

แปลกใจบ้างไหมว่า ทำไมผู้ใหญ่ถึงชอบให้เด็ก ทานกล้วยน้ำว้าบด ก็เพราะว่าใน กล้วยน้ำว้า
 มี โปรตีน และมี กรดอะมิโน อาร์จินิน และ ฮีสติดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก แถมยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย นั้นเป็นคุณค่าทางโภชนาการ คราวนี้เรามาดูกันว่า สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้า มีอะไรกันบ้าง

  1. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้ง ทานวันละ 5-6 ผล จะช่วยให้อาการระคายเคืองลดน้อยลงได้
  2. ช่วยเรื่องกลิ่นปาก ทำให้ลดกลิ่นปากได้ดี วิธีรับประทานคือทานกล้วยน้ำว้าหลังตื่นนอนทันที แล้วค่อยแปรงฟัน จะช่วยลดกลิ่นปากได้
  3. ช่วยเป็นยาระบายแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติ วิธีรับประทานคือ ทานกล้วยน้ำว้าสุก 1-2 ผล ก่อนนอน และดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยให้ถ่ายท้องได้ดีในวันรุ่งขึ้น
  4. ช่วยแก้ท้องเดิน หรือ ท้องเสียได้ ในกล้วยน้ำว้าจะมีสารเทนนิน ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้ โดยการน้ำ กล้วยน้ำว้าดิบ หรือ กล้วยน้ำว้าห่าม มาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2- 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชม. ใน 4-5 ชม.แรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชม. หรือ วันละ 3-4 ครั้ง (ถ้ายุ่งยาก ก็หายามาทานก็ได้ค่ะ)
  5. ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ นำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แตกแดด 2 วัน ให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว หรือน้ำผึ้ง ทานก่อนอาหาร ครึ่งชม. หรือก่อนนอนทุกวัน
  6. เปลือกกล้วยน้ำว้า ช่วยบรรเทาอาการคันอันเนื่องมาจากแมลงกัดต่อย และผื่นแดงจากอาการคันได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการ ต้านเชื้อรา และ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง







ประโยชน์ทางสมุนไพรของกล้วย






     

 



ประโยชน์ทางสมุนไพร :   ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ 1ผลมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทดลองให้หนูขาวกินยาแอสไพรินแล้วกินผงกล้วยดิบ พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะได้เมื่อกินผงกล้วยดิบในปริมาณ 5 กรัม และสามารถรักษาแผลในกระเพาะที่เป็นแล้วได้เมื่อกินในปริมาณ 7 กรัม นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย สำหรับสารสกัดจะมีฤทธิ์เป็น 300 เท่าของผงกล้วยดิบ โดยออกฤทธิ์ สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก
โดยการเพิ่มเมือกและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้างเซลล์ที่ส่งผลไปถึงการรักษาแผลด้วย สำหรับผู้ที่มักจะมีอาการแน่นจุกเสียด ยังสามารถใช้ผลกล้วยดิบฝานบางๆ แล้วตากแห้ง บรรเทาอาการ ปวดท้องจุกเสียดได้อีกด้วยนอกจากนี้ ผู้ที่มักจะเป็นตะคริวที่เท้า ข้อเท้า
และน่องบ่อยๆ การรับประทานกล้วยเป็นประจำจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้เมื่อพูดถึงกล้วย ไม่ใช่เพียงแต่ผลกล้วยเท่านั้นที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ แทบจะทุกส่วนของกล้วย มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น
ผลกล้วยสุก บรรเทาอาการท้องผูก ความดันโลหิตสูง เจ็บคอ บำรุงผิวต้นและใบแห้ง นำมาเผา รับประทานครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอกหัวปลี ช่วยบำรุงน้ำนมยาง จากปลีกล้วยหรือก้านกล้วย ใช้รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ ดอกกล้วย ช่วยเรื่องประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน โรคเบาหวานและโรคหัวใจเปลือกกล้วย แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม คัน หรือเป็นผื่น และฝ่ามือฝ่าเท้าแตกสำหรับสรรพคุณของกล้วยในการช่วยป้องกันโรคต่างๆ ก็มีมากมาย ได้แก่โรคความดันโลหิตสูงลูกล้วยมีธาตุโปแตสเซียมสูง แต่มีปริมาณเกลือต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต องค์กาอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) ยินยอมให้โฆษณาได้ว่ากล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายที่เกิดจากความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตกเส้นเลือดฝอยแตกจากการวิจัยที่ลงในวารสาร The New England Journal of Medicine ระบุว่าการรับประทานกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับ
เส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%
โรคท้องผูกปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องรับประทานยาถ่ายโรคลำไส้เป็นแผลกล้วยเป็นอาหารที่ใช้ควบคุมการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะเนื้อกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด
ทำให้ลดการระคายเคืองและยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย